วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
     ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
     1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย
     2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย
     3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ
     4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
     5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

โครงสร้างของการจัดข้อมูล
 มีอยู่ 5 ส่วน

1.อักขระ (Character)
         ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์พิเศษ อักขระนี้เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูลซึ่งมักจะไม่มี
ความหมายเพราะเป็นเพียงหน่วยย่อยๆเท่านั้นเอง

2.เขตข้อมูล (Field)
         เป็นหน่วยข้อมูลที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใดความหมายหนึ่งเขตข้อมูลจะเกิดจากการนำอักขระที่เกี่ยวข้อง
นำเข้ามารวมด้วยกัน เช่น ชื่อ-นามสกุลก็ทำให้ทราบได้ว่าเป็นบุคคลใด

3.ระเบียบข้อมูล (Record)
         เกิดจากการนำเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือ สัมพันธ์กันมารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ชื่อ-นามสกุลของนักเรียนกับคะแนนจากการสอบ

4.แฟ้มข้อมูล (File)       
         เกิดจากการรวมระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนชั้น ม.5/3 ก็จะรวบรวมข้อมูลของนักเรียนเฉพาะ ม.5/3 เท่านั้น

5.ฐานข้อมูล (Database)
        เกิดจากแฟ้มข้อมูลรวมกัน โดยใช้หลักการเพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ เช่นฐานข้อมูลของนักเรียนโรงเรียนศูนย์ศึกษาคอมพิวเตอร์เป็นต้น
 
ประโยชน์ของการจัดข้อมูล

1.สามารถค้นคว้าข้อมูล/สารสนเทศที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลและทำการปรับปรุง (Update) ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา
2.สามารถประมวลผลชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลได้
3.สามารถสร้าง ตั้งชื่อหรือเก็บแฟ้มข้อมูลนั้นไว้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
4.สามารถสร้างสำเนา ย้ายและลบแฟ้มข้อมูลเมื่อไม่มีความจำเป็นในการใช้งานแล้ว
5.สามารถนำการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
6.สามารถรับแฟ้มข้อมูลจากโปรแกรมอื่นเข้ามาสู่แฟ้มข้อมูลเพื่อการช่วยงานร่วมกันได้
  
การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล

แฟ้มลำดับ (Sequential File)
         การจัดเรียงข้อมูลเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง เช่น เรียงจากมากไปหาน้อย (Descending) หรือจากน้อยไปหามาก
(Ascending) แฟ้มลำดับนี้ถือเป็นการเก็บข้อมูลแบบพื้นฐานมากที่สุด เหมาะกับงานที่มีข้อมูลจำนวนมากและมีการปรับปรุงพร้อมๆกันการประมวล ผมคอมพิวเตอร์จะต้องอ่านข้อมูลเรียงลำดับตั้งแต่ตัวแรกไปทีละตัวจนกว่าจะถึงข้อมูลตัวที่ต้องการ

แฟ้มสุ่ม (Random File)
           แฟ้มสุ่มนี้ การอ่านหรือเขียนข้อมูลผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากข้อมูลตัวแรก แต่ข้อมูลแต่ละรายการจะมีคีย์หลักประจำเวลาที่ต้องการค้นหาข้อมูลก็สามารถดึงข้อมูลออกมาได้โดยตรง การเข้าถึงข้อมูลจึงทำได้เร็วกว่าแฟ้มลำดับ

แฟ้มดัชนี (Index File)
        แฟ้มดัชนีจะต้องเก็บข้อมูลโดยจัดเป็นกลุ่มดัชนีเสียก่อน การค้นหาข้อมูลก็วิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการเมื่อพบแล้วก็ดึงเอาข้อมูลที่ต้องการออก การเรียกใช้ข้อมูลก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว

ประเภทแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File)
           เป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่สำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เช่น แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ

แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction File)
           เป็นแฟ้มที่มีการปรับปรุงตลอกเวลา รายการต่างๆ ในแฟ้มรายการปรับปรุงนี้จะต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลัก เพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ แฟ้มรายการปรับปรุงนี้จึงเป็นแฟ้มชั่วคราว เมื่อมีการสรุปข้อมูลแล้วก็จะลบทิ้งไป      เช่น แฟ้มใบเสร็จรับเงิน ซึ่งจะมีการบวกรวมยอดทุกๆ วัน
ลักษณะการประมวลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ

การประมวลผลแบ่งกลุ่ม  (Bath processing)
         เป็นการประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้เป็นกลุ่ม  ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น  การคิดค่าไฟในแต่ละเดือนข้อมูลของการใช้ไฟ
ในมิเตอร์แต่ละตัวก็จะถูกเก็บไว้จนถึงกำหนดการคิดเงินจึงจะมีการประมวลผลเพื่อคิดค่าไฟที่ลูกจ้างต้องจ่าย  เป็นต้น

การประมวลผลแบบทันที (Transaction processing)
           เป็นการประมวลผลในทันทีเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง  เช่น  การตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ  จำนวนสินค้าในสต๊อกก็จะมีการ  Update ดังนั้นผู้ขายจึงสามารถทราบได้ว่าสินค้ารายการใดหมดหรือมีไม่เพียงพอต่อการขาย
 Website อ้างอิง
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database2.htm





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น